valai

ประวัติ

1) ชื่อ (ภาษาไทย) นางสาว วลัยภรณ์ สนธิ

(ภาษาอังกฤษ) Ms. Walaiporn Sonti

2) วัน เดือน ปีเกิด 28 มิถุนายน 2529

3) สถานที่ทํางาน สาขาวิชาดิจิทัลมีเดีย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

4) คุณวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ศิลปบัณฑิต สาขาประยุกตศิลปศึกษา 2548 มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปริญญาโท ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร

5) ประวัติการทำงานที่ผ่านมา

2557- ปัจจุบัน อาจารย์ประจำภาควิชาดิจิทัลมีเดีย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

6) ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่

[1] วลัยภรณ์ สนธิ. (2557). อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่ง (The Influence of Western art in Krua-In Khong) การประชุมวิชาการระดับชาติ สหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ สหวิทยาการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2557 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์,

25 มิถุนายน 2558. หน้า 406-413, ประเทศไทย.

>>Full Paper<<

[2] วลัยภรณ์ สนธิ. (2558). การใช้สีในงานจิตรกรรมไทยรูปแบบแนวตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2394-2411(The use of colour in Thai paintings in western style from 2394-2411 B.E.) การประชุมวิชาการระดับชาติ 2558 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ,23 มิถุนายน 2559. หน้า 1411-1418, ประเทศไทย.

>>Full Paper<<

7) ประวัติการได้รับทุนวิจัย

ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ดังนี้

[1] การใช้สีในงานจิตรกรรมไทยรูปแบบแนวตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2394-2411(The use of colour in Thai paintings in western style from 2394-2411 ปีการศึกษา 2258.

8) งานบริการวิชาการในรูปแบบต่างๆ

[1] คณะกรรมการตัดสินการประกวดภาพวาด วันวิชาการ "Academic Excellence 2015" ณ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล วันที่ 26 สิงหาคม 2558

9) การฝึกอบรมพัฒนาตนเอง

[1] สัมมนาเชิงปฎิบัติการมหกรรมความรู้ครั้งที่ 4 (OKMD Knowledge Festival 4) ตอน “Know Your Trends, Know Your Future เทรนด์โลกคือโอกาส” สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 10 กันยายน 2558 สถานที่ : TK Park

[2] สัมมนาเชิงปฎิบัติการ “การปรุงสีไทยโทนเพื่องานศิลปะและงานออกแบบ” ในนิทรรศการ “สีโทนไทย” เสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ โครงการศูนย์บันดาลไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม 17 ตุลาคม 2558 สถานที่ HOF ART SPACE

10) แนวปฏิบัติของนักวิจัยที่ดี

[1] ศึกษา ค้นคว้า ในเรื่องที่สนใจ ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวจนเกินไป อาจเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจอยู่เป็นทุนเดิม หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา และเป็นการศึกษาต่อยอดเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการค้นคว้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

[2] ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจากแหล่งอื่น ด้วยความกระตือรือร้น เช่น การค้นคว้าจากห้องสมุดหลาย ๆ แหล่ง สอบถามผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ การสัมมนาที่มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัย เพื่อเป็นแนวทางดำเนินงาน ข้อมูลที่ได้มาควรมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา และอ้างอิงมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้

[3] ในส่วนของระเบียบวิธีวิจัย การกำหนด กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา การวิเคราะห์ เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ต้องให้ความใส่ใจ หากระเบียบวิธีวิจัยไม่ชัดเจน จะทำให้กระบวนการวิจัยมีปัญหา เกิดความสับสนได้ง่าย (ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ภาพจากสถานที่จริงได้ สามารถใช้ภาพจากแหล่งข้อมูลที่มีการอ้างอิงได้ กรณีผู้วิจัยภาพที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์เป็นจิตรกรรมที่อยู่เหนือระดับสายตาไปค่อนข้างมาก และพระอุโบสถค่อนข้างแคบ ไม่สามารถถ่ายภาพได้ จึงได้มีการนำภาพมาจากแหล่งอ้างอิง แต่ทั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูลภาคสนาม ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลภาพจิตรกรรมจากสถานที่จริง)

[4] การวิเคราะห์ ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality research) เป็นกระบวนการนำเสนอความเข้าใจด้วยคำพูดและรูปภาพ ไม่ตัวใช้เลข และการวิจัยลักษณะนี้ยังให้ความสนใจกับข้อมูลด้านความรู้สึก ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานำมาใช้ประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาในอนาคตต่อไป

[5] การสรุปผลเป็นไปตามผลการวิจัยที่ได้มา เสมือนการได้ลำดับการทำงานที่ผ่านกระบวนการคิดมาทั้งหมด ทำให้ได้เห็นความคิดเห็นสอดคล้อง หรือขัดแย้งกับทฤษฎีและแนวคิดที่เคยมีมาเช่นไร การอภิปราย ควรมีการบรรยายเนื้อหาให้ละเอียด เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่มาศึกษางานวิจัย สามารถนำไปใช้ต่อไป เช่นเดียวกับข้อเสนอแนะที่ควรมีไว้เพื่อองค์ความรู้ที่นักวิจัยท่านอื่นสามารถนำไปศึกษาต่อ